วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาชุมชน
จากการที่ชุมชนบ้านดอกบัว  ได้ยึดทางสายกลางในการดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง  โดยน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  มาปรับใช้ในชุมชน  จึงเกิดการเรียนรู้อย่างพึ่งตนเองมาโดยตลอด  และประสบผลสำเร็จมาโดยตลอดเพราะยึดทางสายกลาง..ภายใต้หลักการและเงื่อนไขดังนี้คือ..
"หลักความพอประมาณ"   หมายถึง  ความพอดีพอเหมาะต่อความจำเป็นที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
"หลักความมีเหตุมีผล"  หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น  จะต้องเป็นไปตามเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
"หลักการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว"  หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
"เงื่อนไขความรู้"  ประกอบด้วย  ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน  ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน  เพื่อประกอบการวางแผน  และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
"เงื่อนไขคุณธรรม"  ประกอบด้วย  ความตระหนักในคุณธรรม  ความซื่อสัตย์สุจริต  ความอดทน มีความเพียร  และใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
 การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาชุมชน
1.กิจกรรมที่โดดเด่นและสำคัญของชุมชนที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง 
ในอดีตคนใน ชุมชนบ้านบัว มีการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อยู่แล้วแต่ไม่เป็นรูปธรรม ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นย้ำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ประชาชนทุกคน ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ซึ่งมีกิจกรรมที่สอดคล้องกับ สามห่วง สองเงื่อนไข คือชุมชนมีความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดทั้งมีความรู้คู่คุณธรรม ซึ่งจะขอสรุปในภาพของตัวชี้วัดเป็นด้าน ๆ ประกอบด้วย ด้วยการลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ การประหยัด การเรียนรู้ การอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดทั้งการเอื้ออารี เมื่อหลายปีที่ผ่านมาชุมชนมีการปรับเปลี่ยนหลายๆ อย่างไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อบริหารการจัดการ ในรูปของคณะกรรมการของแต่ละกลุ่ม ด้านการเกษตร ศักยภาพของชุมชนที่มีสภาพภูมิอากาศสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ในการทำนา ซึ่งเป็นอาชีพหลัก จะเห็นว่าการปลูกข้าว มีน้ำเพียงพอ จากเดิมมีการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมี ซึ่งมีราคาสูง ประกอบกับค่าแรงงานสูง ต่อมามีการนำเอาแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ เกิดประโยชน์ และมีการปรับเปลี่ยนการลดต้นทุนการผลิตโดยการทำปุ๋ยหมักปุ๋ยชีวภาพ ประกอบกับชุมชนมีการเลี้ยงวัว เกือบทุกครัวเรือน จึงมีมูลวัวในปริมาณที่มากพอสำหรับการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และ ลดรายจ่ายค่าแรงงานโดยการ เอามื้อ (ลงแขก) ในการทำนา และลดรายจ่ายสำหรับเจ้าภาพ ด้วยการนำห่อข้าวไปกินร่วมกัน
ด้านการลดรายจ่าย 
ทุกครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัว ผักปลอดสารพิษ การเลี้ยงไก่พื้นเมือง เลี้ยงปลา ไว้กินแต่ละครัวเรือน เหลือจากการบริโภค ก็แบ่งปันให้เพื่อนบ้านและจำหน่ายบ้าง ทำให้ประชาชนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ และมีการเลี้ยงวัว โคขุน ก็มีกลุ่มการเลี้ยงวัวพันธุ์พื้นเมือง การเลี้ยงโคขุน ซึ่งมีการเลี้ยงเป็นจำนวนมาก จึงทำให้มีมูลวัวมาก จึงได้ นำมูลวัวมาทำแก๊สหุงต้มชีวภาพ เพื่อลดรายจ่ายของครัวเรือนได้เดือนละไม่น้อยกว่า 300 บาท อีกทางหนึ่งของครัวเรือน ซึ่งใน ปี 2553 ทุกครัวเรือนจะใช้แก็สหุงต้มชีวภาพ และ ทุกครัวเรือน มีการทำจุลินทรีย์จากหน่อกล้วย ไว้เป็นปุ๋ยสำหรับใช้ในการเกษตร
ด้านการเพิ่มรายได้เริ่มแรกคนในชุมชนมีความคิดว่าต่างคนต่างทำ ไม่มีการรวมกลุ่มกันจัดทำ ต่อมาจึงได้รวมกลุ่มกัน เช่น การจักสานเข่ง สุ่มไก่ ซึ่งมีวัตถุดิบอยู่ในชุมชน คือมีไม้ไผ่รวก ตลอดทั้งภูมิสังคมมีภูมิปัญญาในท้องถิ่นในการจักสาน มีการรวมกลุ่มเล็กๆ ทำกันเองเพื่อใช้และจำหน่ายในหมู่บ้านตำบลเดียวกัน และต่อมาได้มีการรวมตัวเป็นกลุ่มใหญ่ที่มีสมาชิกเป็นจำนวนมาก และมีการระดมเงินออม และขยายไปในชุมชนอื่นๆ โดยมีเครือข่ายหมู่บ้าน/ตำบลที่ใกล้เคียง จากการรวมกลุ่มกัน และยังเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงและทำรายได้ให้กับครัวเรือนเป็นอย่างดี และยังเป็นสินค้า OTOP ของจังหวัดพะเยา และการเลี้ยงโคของคนในชุมชน ก็ปลูกหญ้าแพงโกล่า สำหรับใช้เป็นอาหารของโค และจำหน่าย ทำให้มีรายได้เข้าในชุมชนอีกชนิดหนึ่ง และมีการจักสานผักตบชวา เป็นอาชีพเสริม ซึ่งนำวัตถุดิบจากกว๊านพะเยา มาจักสานเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและสวยงาม ตลอดทั้งเป็นการกำจัดผักตบชวา
ด้านการประหยัด 
ทุกครัวเรือนต้องประหยัดและออมเงิน และจัดทำบัญชีครัวเรือน นี่คือเสียงจากชุมชน ที่สามารถพึ่งตนเองได้โดยการรวมกลุ่มกัน เช่น กองทุนหมู่บ้าน มีการออมเงินจำนวน 120 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 198 คน และมีเงินออมเป็นเงิน 150,000 บาท และเงินทุนดำเนินการ 1,115,000 บาท โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) มีการออมเงินจำนวน 62 ครัวเรือน ณ .ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจำนวน 62 คน มีเงินออมและเงินทุนหมุนเวียนฯรวมเป็นเงิน 285,292 .68 บาท กลุ่มออมทรัพย์เข่งมีการออมเงินจำนวน 88 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 88 คน มีเงินออมและเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 295,261 บาท กลุ่มแม่บ้านมีการออมเงินจำนวน 100 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 100 คน มีเงินออมและเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 50,000 บาท กลุ่มเลี้ยงวัวพันธุ์พื้นเมืองมีการออมเงินจำนวน 50 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจำนวน 50 คน มีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 96,451 บาท กลุ่มจักสานผักตบชวามีการออมเงินจำนวน 25 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจำนวน 25 คน มีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯเป็นเงิน 25,000 บาท กลุ่มปลูกหญ้าแพงโกล่ามีการออมเงินจำนวน 25 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจำนวน25 คน มีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 25,000 บาท กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีการออมเงินจำนวน 30 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 30 คน มีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 35,000 บาท
ด้านการเรียนรู้ 
ชุมชนมีครูภูมิปัญญาชาวบ้าน หลายด้านที่ถ่ายทอดแนวคิด ความรู้ แนวทางการทำงาน ประสบการณ์ และกระบวนการ เรียนรู้ต่างๆสู่ชุมชน เช่น มีศูนย์การเพาะพันธุ์กว่างด้วงเขา ซึ่งเป็นแห่งแรก
และแห่งเดียวในประเทศ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวล้านนาที่มีการแข่งขันชนกว่าง แต่ปัจจุบัน จำนวนกว่างลดลงมาก ทำให้มีปราชญ์ท่านหนึ่งคือ นายบรรพต ปัฐวี ได้ศึกษาและทำการเพาะพันธุ์กว่าง และจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และการเพาะพันธุ์ไม้ต่างๆ การจัดสวนหย่อมฯ โดยสามารถดูได้ที่บ้าน นายบรรพต ปัฐวี และทุกครัวเรือนมีการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นประจำทุกครัวเรือน โดยการสอนให้ลูกหลานทุกวัน เช่น เมื่อลูกหลานขอเงินไปโรงเรียน พ่อแม่ ผู้ปกครองจะให้ร้อยหูเข่งเพื่อแลกกับเงิน
ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
บ้านบัวมีการปลูกไม้ไผ่ทดแทนไม้ไผ่ที่นำมาใช้สำหรับการจักสานเข่ง เป็นประจำ และไม่นำหน่อไม้จากไผ่เหล่านี้มาประกอบอาหารอีกทั้งในช่วงเทศกาลสงกรานต์ในชุมชนจะออกกฎระเบียบห้ามใช้รถยนต์ รถจักยานยนต์ในชุมชน ให้เดินเท้าเท่านั้น หรือให้ใช้รถจักยาน เป็นประหยัดพลังงานและลดภาวะโลกร้อนด้วย
ด้านอารีต่อกัน 
ชุมชนมีการดูแลช่วยเหลือคนจน คนด้อยโอกาส และคนประสบปัญหา โดยการจัดสวัสดิการจากกองทุนต่าง ๆ และคนภายในชุมชน ซึ่งจากคนในชุมชนบ้านโดนไฟไหม ทุกคนจะช่วยกันบริจาคสิ่งของและก่อสร้างบ้านจนแล้วเสร็จภายในวันเดียว และในชุมชนการดูแลผู้ด้อยโอกาสในสังคมโดยการนำเงินปันผลของกลุ่มต่างๆ จัดเป็นสวัสดิการให้กับคนด้อยโอกาสเหล่านี้
2. ความภาคภูมิใจของชุมชนในการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คืออะไร
ชุมชนได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตแล้ว ส่งผลให้ชุมชนได้รับการคัดเลือกจากหน่วยงานราชการ ทั้งได้รับเป็นเงินรางวัลและโล่เกียรติยศ ดังนี้ พัฒนากร ผู้ประสานตำบลได้คัดเลือก บ้านบัว(ดอกบัว) เป็นหมู่บ้านหลักนักพัฒนา หมู่บ้านพึ่งตนเอง และยังอยู่ภายในการปกครอง ของกำนันดีเด่นปี 2551 และเป็นหมู่บ้านที่ผ่าน ระบบ มชช. ปี 2551 โดยมีนายบาล บุญก้ำ เป็นผู้ใหญ่บ้าน และมีผลงานเด่น คือ บ้านดอกบัว เป็นหมู่บ้านที่ชนะเลิศตามโครงการเชิดชูเกียรติผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข ” และชนะเลิศหมู่บ้านพึ่งตนเอง ระดับจังหวัดพะเยา ในปี 2551 และผู้ใหญ่บ้านได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านดีเด่น ประจำปี 2551 อีกทั้งกลุ่มจักสานเข่ง ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ประเภทกลุ่มอาชีพดีเด่น ตามโครงการเชิดชูเกียรติผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็นเป็นสุข ” ประจำปี 2551 ในปี 2552 บ้านบัว เป็นหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ต้นแบบ ระดับ “มั่งมี ศรีสุข” ตัวอย่างจังหวัดพะเยา
การดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน
1. ชุมชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ชีวิตแบบพอเพียงอย่างไร
ความพอประมาณ ชุมชนได้มีการพัฒนาหมู่บ้านโดยวิเคราะห์ถึงศักยภาพของชุมชนและประชาชน อีกทั้งทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนนำมาใช้ในการพัฒนาชุมชนให้เกิดความอีกทั้งมีการทดแทนสิ่งเหล่านี้ให้กับชุมชน โดยยึดหลักความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไป หรือไม่มากเกินไป ไม่เบียดเบียนตัวเอง และผู้อื่นในชุมชนตลอดมา
ความมีเหตุผล ชุมชนได้มีการร่วมกันศึกษาวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจสังคมและทรัพยากรของชุมชนด้วยเหตุผลและความรู้ ความเข้าใจ แล้วจึงตัดสินใจนำไป ใช้ในการทำแผนพัฒนาชุมชน สมาชิกในชุมชนมีการลงทุนในการดำเนินกิจกรรมร่วมกันด้วยความมีเหตุผล โดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง มีการวางแผน รู้จักแยกแยะปัญหา อุปสรรค ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำเหล่านั้นอย่างรอบคอบ
มีภูมิคุ้มกัน โดยทุกครัวเรือนต้องประหยัดและออมเงิน และจัดทำบัญชีครัวเรือน นี่คือเสียงจากชุมชน ที่สามารถพึ่งตนเองได้โดยการรวมกลุ่มกัน ตลอดทั้งชุมชนได้มีการจัดตั้งองค์กรที่จะช่วยเหลือคนในชุมชนยามเดือดร้อน ดังนี้ เช่น กองทุนหมู่บ้าน มีการออมเงินจำนวน 120 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 198 คน และมีเงินออมเป็นเงิน 150,000 บาท และเงินทุนดำเนินการ 1,115,000 บาท โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) มีการออมเงินจำนวน 62 ครัวเรือน ณ .ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจำนวน 62 คน มีเงินออมและเงินทุนหมุนเวียนฯรวมเป็นเงิน 285,292 .68 บาท กลุ่มออมทรัพย์เข่งมีการออมเงินจำนวน 88 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 88 คน มีเงินออมและเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 295,261 บาท กลุ่มแม่บ้านมีการออมเงินจำนวน 100 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 100 คน มีเงินออมและเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 50,000 บาท กลุ่มเลี้ยงวัวพันธุ์พื้นเมืองมีการออมเงินจำนวน 50 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจำนวน 50 คน มีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 96,451 บาท กลุ่มจักสานผักตบชวามีการออมเงินจำนวน 25 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจำนวน 25 คน มีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯเป็นเงิน 25,000 บาท กลุ่มปลูกหญ้าแพงโกล่ามีการออมเงินจำนวน 25 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจำนวน25 คน มีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 25,000 บาท กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีการออมเงินจำนวน 30 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 30 คน มีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 35,000 บาท
ความรู้ ชุมชนจะส่งผู้นำชุมชนเข้าร่วมศึกษาที่มีประโยชน์สำหรับการประกอบอาชีพและเรื่องใหม่ ๆจากหน่วยงานราชการมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เช่น การทำจุลินทรีย์จากหน่อกล้วย และ ผู้นำในหมู่บ้านรณรงค์ให้ครัวเรือนมีการผลิตและการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ เนื่องจากบ้านบัว เป็นหมู่บ้านที่มีการเลี้ยงสัตว์ (โค) มาก เพื่อลดต้นทุนการผลิต และช่วยในการรักษาคุณภาพดิน ซึ่งทำให้มีการลดรายจ่ายจากการซื้อปุ๋ยเคมีในปีละ 5,000 บาท

2.ชุมชนเริ่มยึดแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงมาตั้งแต่เมื่อใด และอะไร คือแรงจูงใจที่ทำให้ชุมชนยึดแนวทางดังกล่าว 
ชุมชนดำเนินชีวิตแบบพอเพียงมาตั่งแต่บรรพบุรุษแล้ว และคนในชุมชนก็อยู่อย่างเอื้ออาทรต่อกันมาตลอด และเมื่อปี พ.ศ. 2540 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นย้ำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ เมื่อเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจในประเทศ และมีหลายหมู่บ้านที่คนในชุมชนไปทำงานในเมืองอุตสาหกรรม ถูกเลิกจ้างและเดินทางกลับมาบ้านนั้น สิ่งเหล่านี้ไม่เกิดกับคนในชุมชน แต่ชุมชนก็ไม่ประมาท ยังดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และยังสอนให้ลูกหลานได้ดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตลอดมา ซึ่งนายบาล บุญก้ำ เล่าว่า เมื่อ 10 ปี ที่ผ่านคนในชุมชนได้นำภูมิปัญญาเรื่องการจักสานมาจักสานโดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ภายในชุมชน คือไม่ไผ่มาจักสานเป็นเข่ง ที่นำรายได้เข้าสู่ชุมชนจนถึงปัจจุบันนี้
3. ความเป็นอยู่เดิมของชุมชนเป็นอย่างไร หลังจากการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ และเกิดความเปลี่ยนแปลงในชุมชนของท่านอย่างไร
ความเป็นอยู่ ของคนในชุมชน พบว่ามีภูมิลำเนามาจากที่เดียวกัน จึงมีลักษณะเป็นอยู่ ที่ไม่แตกต่างกัน อยู่กันแบบเครือญาติ พึ่งพาอาศัยกันในชุมชน ทุกคนจึงรู้จักกันหมดทุกครัวเรือน การประกอบอาชีพส่วนใหญ่ทำการเกษตร รับจ้าง และมีการรวมกลุ่มของคนในชุมชนในการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่นการสานเข่ง สานสุ่มไก่ การจักสานผักตบชวา , การเลี้ยงสัตว์ และการปลูกหญ้า เป็นต้น ชาวบ้านบัว ทุกคน ก็มีการดำเนินชีวิตตามวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อไม่ต่างจากคนล้านนาทั่วไป ที่ชอบความสนุกสนาน แม้แต่ในงานศพก็มีการดื่มเหล้า แต่ปัจจุบันคนในชุมชนได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ จึงมีการงดเหล้าในงานศพ ทุกวันพระมีการจูงลูก – หลานเข้าวัด และในช่วงเทศกาลสงกรานต์ห้ามมีการดื่มสุรา
4. ชุมชนมีการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนหรือไม่ ทำมาเป็นระยะเวลากี่ปี และแผนหนึ่งมีระยะเวลานานเท่าใด เป็นการดำเนินงานร่วมกันของใครบ้าง
- ชุมชนมีการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนที่เรียกว่าแผนชุมชน มาตั้งแต่ปี 2546 รวมเป็นระยะเวลา 7 ปีผ่านมา โดยเป็นแผนระยะเวลา 3 – 5 ปี โดยการประสานความร่วมมือจากหน่วยงานภาคีการพัฒนา ประกอบด้วย สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงาน กศน. ที่ทำการปกครองอำเภอ โดยเริ่มจากการจัดเวทีประชาคมวิเคราะห์หาจุดแข็ง – จุดอ่อนของชุมชน และให้คนในชุมชนช่วยกันวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ไข พร้อมกับจัดทำเป็นแผนชุมชน
5. ชุมชนของท่านมีการจัดตั้งกองทุนหรือไม่ เป็นกองทุนอะไรบ้าง และเกิดจากความร่วมมือของคนในชุมชนหรือไม่
ชุมชนมีการรวมตัวของคนในชุมชนที่มีจุดประสงค์เดียวกัน ที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในยามเดือดร้อน เช่น กองทุนหมู่บ้าน มีการออมเงินจำนวน 120 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 198 คน และมีเงินออมเป็นเงิน 150,000 บาท และเงินทุนดำเนินการ 1,115,000 บาท โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) มีการออมเงินจำนวน 62 ครัวเรือน ณ .ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจำนวน 62 คน มีเงินออมและเงินทุนหมุนเวียนฯรวมเป็นเงิน 285,292 .68 บาท กลุ่มออมทรัพย์เข่งมีการออมเงินจำนวน 88 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 88 คน มีเงินออมและเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 295,261 บาท กลุ่มแม่บ้านมีการออมเงินจำนวน 100 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 100 คน มีเงินออมและเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 50,000 บาท กลุ่มเลี้ยงวัวพันธุ์พื้นเมืองมีการออมเงินจำนวน 50 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจำนวน 50 คน มีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 96,451 บาท กลุ่มจักสานผักตบชวามีการออมเงินจำนวน 25 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจำนวน 25 คน มีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯเป็นเงิน 25,000 บาท กลุ่มปลูกหญ้าแพงโกล่ามีการออมเงินจำนวน 25 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจำนวน25 คน มีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 25,000 บาท กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีการออมเงินจำนวน 30 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 30 คน มีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 35,000 บาท
6. ชุมชนของท่านพึ่งตนเองได้หรือไม่ พึ่งตนเองได้ในด้านใด และอย่างไรบ้าง
บ้านบัวเป็นชุมชนหนึ่งที่สามารถพึ่งตนเองได้ ขอยกตัวอย่างดังนี้ ทุกครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัว ผักปลอดสารพิษ การเลี้ยงไก่พื้นเมือง เลี้ยงปลา ไว้กินแต่ละครัวเรือน เหลือจากการบริโภค ก็แบ่งปันให้เพื่อนบ้านและจำหน่ายบ้าง ทำให้ประชาชนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ และมีการเลี้ยงวัว โคขุน ก็มีกลุ่มการเลี้ยงวัวพันธุ์พื้นเมือง การเลี้ยงโคขุน ซึ่งมีการเลี้ยงเป็นจำนวนมาก จึงทำให้มีมูลวัวมาก จึงได้ นำมูลวัวมาทำแก๊สหุงต้มชีวภาพ เพื่อลดรายจ่ายของครัวเรือนได้เดือนละไม่น้อยกว่า 300 บาท อีกทางหนึ่งของครัวเรือน ซึ่งใน ปี 2553 ทุกครัวเรือนจะใช้แก็สหุงต้มชีวภาพ และ ทุกครัวเรือน มีการทำจุลินทรีย์จากหน่อกล้วย ไว้เป็นปุ๋ยสำหรับใช้ในการเกษตร กันทุกครัวเรือน และยังมีการสร้างรายได้ให้กับชุมชนด้วยการรวมกลุ่มกัน เช่น การจักสานเข่ง สุ่มไก่ ซึ่งมีวัตถุดิบอยู่ในชุมชน คือมีไม้ไผ่รวก ตลอดทั้งภูมิสังคมมีภูมิปัญญาในท้องถิ่นในการจักสาน มีการรวมกลุ่มเล็กๆ ทำกันเองเพื่อใช้และจำหน่ายในหมู่บ้านตำบลเดียวกัน และต่อมาได้มีการรวมตัวเป็นกลุ่มใหญ่ที่มีสมาชิกเป็นจำนวนมาก และมีการระดมเงินออม และขยายไปในชุมชนอื่นๆ โดยมีเครือข่ายหมู่บ้าน/ตำบลที่ใกล้เคียง จากการรวมกลุ่มกัน และยังเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงและทำรายได้ให้กับครัวเรือนเป็นอย่างดี และยังเป็นสินค้า OTOP ของจังหวัดพะเยา และการเลี้ยงโคของคนในชุมชน ก็ปลูกหญ้าแพงโกล่า สำหรับใช้เป็นอาหารของโค และจำหน่าย ทำให้มีรายได้เข้าในชุมชนอีกชนิดหนึ่ง และมีการจักสานผักตบชวา เป็นอาชีพเสริม ซึ่งนำวัตถุดิบจากกว๊านพะเยา มาจักสานเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและสวยงาม ตลอดทั้งเป็นการกำจัดผักตบชวา
 7. สัดส่วนของครัวเรือนในชุมชนที่นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต (ให้จากจำนวนครัวเรือนที่นำเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ต่อจำนวนครัวเรือนทั้งหมด)
- ทุกครัวเรือนในชุมชนได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต คิดเป็นร้อยละได้ร้อยละ 100 ของครัวเรือนทั้งหมด



ที่มา หมู่บ้านเศรฐกิจพอเพียงต้นแบบ
ที่มา bandokbua.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น