วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาชุมชน
จากการที่ชุมชนบ้านดอกบัว  ได้ยึดทางสายกลางในการดำรงชีวิตตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง  โดยน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  มาปรับใช้ในชุมชน  จึงเกิดการเรียนรู้อย่างพึ่งตนเองมาโดยตลอด  และประสบผลสำเร็จมาโดยตลอดเพราะยึดทางสายกลาง..ภายใต้หลักการและเงื่อนไขดังนี้คือ..
"หลักความพอประมาณ"   หมายถึง  ความพอดีพอเหมาะต่อความจำเป็นที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
"หลักความมีเหตุมีผล"  หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น  จะต้องเป็นไปตามเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
"หลักการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว"  หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
"เงื่อนไขความรู้"  ประกอบด้วย  ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน  ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน  เพื่อประกอบการวางแผน  และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
"เงื่อนไขคุณธรรม"  ประกอบด้วย  ความตระหนักในคุณธรรม  ความซื่อสัตย์สุจริต  ความอดทน มีความเพียร  และใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
 การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาชุมชน
1.กิจกรรมที่โดดเด่นและสำคัญของชุมชนที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง 
ในอดีตคนใน ชุมชนบ้านบัว มีการดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อยู่แล้วแต่ไม่เป็นรูปธรรม ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นย้ำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ประชาชนทุกคน ได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ซึ่งมีกิจกรรมที่สอดคล้องกับ สามห่วง สองเงื่อนไข คือชุมชนมีความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดทั้งมีความรู้คู่คุณธรรม ซึ่งจะขอสรุปในภาพของตัวชี้วัดเป็นด้าน ๆ ประกอบด้วย ด้วยการลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ การประหยัด การเรียนรู้ การอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดทั้งการเอื้ออารี เมื่อหลายปีที่ผ่านมาชุมชนมีการปรับเปลี่ยนหลายๆ อย่างไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาเพื่อบริหารการจัดการ ในรูปของคณะกรรมการของแต่ละกลุ่ม ด้านการเกษตร ศักยภาพของชุมชนที่มีสภาพภูมิอากาศสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม ในการทำนา ซึ่งเป็นอาชีพหลัก จะเห็นว่าการปลูกข้าว มีน้ำเพียงพอ จากเดิมมีการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมี ซึ่งมีราคาสูง ประกอบกับค่าแรงงานสูง ต่อมามีการนำเอาแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ เกิดประโยชน์ และมีการปรับเปลี่ยนการลดต้นทุนการผลิตโดยการทำปุ๋ยหมักปุ๋ยชีวภาพ ประกอบกับชุมชนมีการเลี้ยงวัว เกือบทุกครัวเรือน จึงมีมูลวัวในปริมาณที่มากพอสำหรับการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และ ลดรายจ่ายค่าแรงงานโดยการ เอามื้อ (ลงแขก) ในการทำนา และลดรายจ่ายสำหรับเจ้าภาพ ด้วยการนำห่อข้าวไปกินร่วมกัน
ด้านการลดรายจ่าย 
ทุกครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัว ผักปลอดสารพิษ การเลี้ยงไก่พื้นเมือง เลี้ยงปลา ไว้กินแต่ละครัวเรือน เหลือจากการบริโภค ก็แบ่งปันให้เพื่อนบ้านและจำหน่ายบ้าง ทำให้ประชาชนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ และมีการเลี้ยงวัว โคขุน ก็มีกลุ่มการเลี้ยงวัวพันธุ์พื้นเมือง การเลี้ยงโคขุน ซึ่งมีการเลี้ยงเป็นจำนวนมาก จึงทำให้มีมูลวัวมาก จึงได้ นำมูลวัวมาทำแก๊สหุงต้มชีวภาพ เพื่อลดรายจ่ายของครัวเรือนได้เดือนละไม่น้อยกว่า 300 บาท อีกทางหนึ่งของครัวเรือน ซึ่งใน ปี 2553 ทุกครัวเรือนจะใช้แก็สหุงต้มชีวภาพ และ ทุกครัวเรือน มีการทำจุลินทรีย์จากหน่อกล้วย ไว้เป็นปุ๋ยสำหรับใช้ในการเกษตร
ด้านการเพิ่มรายได้เริ่มแรกคนในชุมชนมีความคิดว่าต่างคนต่างทำ ไม่มีการรวมกลุ่มกันจัดทำ ต่อมาจึงได้รวมกลุ่มกัน เช่น การจักสานเข่ง สุ่มไก่ ซึ่งมีวัตถุดิบอยู่ในชุมชน คือมีไม้ไผ่รวก ตลอดทั้งภูมิสังคมมีภูมิปัญญาในท้องถิ่นในการจักสาน มีการรวมกลุ่มเล็กๆ ทำกันเองเพื่อใช้และจำหน่ายในหมู่บ้านตำบลเดียวกัน และต่อมาได้มีการรวมตัวเป็นกลุ่มใหญ่ที่มีสมาชิกเป็นจำนวนมาก และมีการระดมเงินออม และขยายไปในชุมชนอื่นๆ โดยมีเครือข่ายหมู่บ้าน/ตำบลที่ใกล้เคียง จากการรวมกลุ่มกัน และยังเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงและทำรายได้ให้กับครัวเรือนเป็นอย่างดี และยังเป็นสินค้า OTOP ของจังหวัดพะเยา และการเลี้ยงโคของคนในชุมชน ก็ปลูกหญ้าแพงโกล่า สำหรับใช้เป็นอาหารของโค และจำหน่าย ทำให้มีรายได้เข้าในชุมชนอีกชนิดหนึ่ง และมีการจักสานผักตบชวา เป็นอาชีพเสริม ซึ่งนำวัตถุดิบจากกว๊านพะเยา มาจักสานเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและสวยงาม ตลอดทั้งเป็นการกำจัดผักตบชวา
ด้านการประหยัด 
ทุกครัวเรือนต้องประหยัดและออมเงิน และจัดทำบัญชีครัวเรือน นี่คือเสียงจากชุมชน ที่สามารถพึ่งตนเองได้โดยการรวมกลุ่มกัน เช่น กองทุนหมู่บ้าน มีการออมเงินจำนวน 120 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 198 คน และมีเงินออมเป็นเงิน 150,000 บาท และเงินทุนดำเนินการ 1,115,000 บาท โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) มีการออมเงินจำนวน 62 ครัวเรือน ณ .ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจำนวน 62 คน มีเงินออมและเงินทุนหมุนเวียนฯรวมเป็นเงิน 285,292 .68 บาท กลุ่มออมทรัพย์เข่งมีการออมเงินจำนวน 88 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 88 คน มีเงินออมและเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 295,261 บาท กลุ่มแม่บ้านมีการออมเงินจำนวน 100 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 100 คน มีเงินออมและเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 50,000 บาท กลุ่มเลี้ยงวัวพันธุ์พื้นเมืองมีการออมเงินจำนวน 50 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจำนวน 50 คน มีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 96,451 บาท กลุ่มจักสานผักตบชวามีการออมเงินจำนวน 25 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจำนวน 25 คน มีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯเป็นเงิน 25,000 บาท กลุ่มปลูกหญ้าแพงโกล่ามีการออมเงินจำนวน 25 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจำนวน25 คน มีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 25,000 บาท กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีการออมเงินจำนวน 30 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 30 คน มีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 35,000 บาท
ด้านการเรียนรู้ 
ชุมชนมีครูภูมิปัญญาชาวบ้าน หลายด้านที่ถ่ายทอดแนวคิด ความรู้ แนวทางการทำงาน ประสบการณ์ และกระบวนการ เรียนรู้ต่างๆสู่ชุมชน เช่น มีศูนย์การเพาะพันธุ์กว่างด้วงเขา ซึ่งเป็นแห่งแรก
และแห่งเดียวในประเทศ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวล้านนาที่มีการแข่งขันชนกว่าง แต่ปัจจุบัน จำนวนกว่างลดลงมาก ทำให้มีปราชญ์ท่านหนึ่งคือ นายบรรพต ปัฐวี ได้ศึกษาและทำการเพาะพันธุ์กว่าง และจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และการเพาะพันธุ์ไม้ต่างๆ การจัดสวนหย่อมฯ โดยสามารถดูได้ที่บ้าน นายบรรพต ปัฐวี และทุกครัวเรือนมีการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นประจำทุกครัวเรือน โดยการสอนให้ลูกหลานทุกวัน เช่น เมื่อลูกหลานขอเงินไปโรงเรียน พ่อแม่ ผู้ปกครองจะให้ร้อยหูเข่งเพื่อแลกกับเงิน
ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
บ้านบัวมีการปลูกไม้ไผ่ทดแทนไม้ไผ่ที่นำมาใช้สำหรับการจักสานเข่ง เป็นประจำ และไม่นำหน่อไม้จากไผ่เหล่านี้มาประกอบอาหารอีกทั้งในช่วงเทศกาลสงกรานต์ในชุมชนจะออกกฎระเบียบห้ามใช้รถยนต์ รถจักยานยนต์ในชุมชน ให้เดินเท้าเท่านั้น หรือให้ใช้รถจักยาน เป็นประหยัดพลังงานและลดภาวะโลกร้อนด้วย
ด้านอารีต่อกัน 
ชุมชนมีการดูแลช่วยเหลือคนจน คนด้อยโอกาส และคนประสบปัญหา โดยการจัดสวัสดิการจากกองทุนต่าง ๆ และคนภายในชุมชน ซึ่งจากคนในชุมชนบ้านโดนไฟไหม ทุกคนจะช่วยกันบริจาคสิ่งของและก่อสร้างบ้านจนแล้วเสร็จภายในวันเดียว และในชุมชนการดูแลผู้ด้อยโอกาสในสังคมโดยการนำเงินปันผลของกลุ่มต่างๆ จัดเป็นสวัสดิการให้กับคนด้อยโอกาสเหล่านี้
2. ความภาคภูมิใจของชุมชนในการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คืออะไร
ชุมชนได้นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตแล้ว ส่งผลให้ชุมชนได้รับการคัดเลือกจากหน่วยงานราชการ ทั้งได้รับเป็นเงินรางวัลและโล่เกียรติยศ ดังนี้ พัฒนากร ผู้ประสานตำบลได้คัดเลือก บ้านบัว(ดอกบัว) เป็นหมู่บ้านหลักนักพัฒนา หมู่บ้านพึ่งตนเอง และยังอยู่ภายในการปกครอง ของกำนันดีเด่นปี 2551 และเป็นหมู่บ้านที่ผ่าน ระบบ มชช. ปี 2551 โดยมีนายบาล บุญก้ำ เป็นผู้ใหญ่บ้าน และมีผลงานเด่น คือ บ้านดอกบัว เป็นหมู่บ้านที่ชนะเลิศตามโครงการเชิดชูเกียรติผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข ” และชนะเลิศหมู่บ้านพึ่งตนเอง ระดับจังหวัดพะเยา ในปี 2551 และผู้ใหญ่บ้านได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านดีเด่น ประจำปี 2551 อีกทั้งกลุ่มจักสานเข่ง ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ ประเภทกลุ่มอาชีพดีเด่น ตามโครงการเชิดชูเกียรติผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็นเป็นสุข ” ประจำปี 2551 ในปี 2552 บ้านบัว เป็นหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ต้นแบบ ระดับ “มั่งมี ศรีสุข” ตัวอย่างจังหวัดพะเยา
การดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน
1. ชุมชนมีความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ชีวิตแบบพอเพียงอย่างไร
ความพอประมาณ ชุมชนได้มีการพัฒนาหมู่บ้านโดยวิเคราะห์ถึงศักยภาพของชุมชนและประชาชน อีกทั้งทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนนำมาใช้ในการพัฒนาชุมชนให้เกิดความอีกทั้งมีการทดแทนสิ่งเหล่านี้ให้กับชุมชน โดยยึดหลักความพอดี ที่ไม่น้อยเกินไป หรือไม่มากเกินไป ไม่เบียดเบียนตัวเอง และผู้อื่นในชุมชนตลอดมา
ความมีเหตุผล ชุมชนได้มีการร่วมกันศึกษาวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจสังคมและทรัพยากรของชุมชนด้วยเหตุผลและความรู้ ความเข้าใจ แล้วจึงตัดสินใจนำไป ใช้ในการทำแผนพัฒนาชุมชน สมาชิกในชุมชนมีการลงทุนในการดำเนินกิจกรรมร่วมกันด้วยความมีเหตุผล โดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง มีการวางแผน รู้จักแยกแยะปัญหา อุปสรรค ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำเหล่านั้นอย่างรอบคอบ
มีภูมิคุ้มกัน โดยทุกครัวเรือนต้องประหยัดและออมเงิน และจัดทำบัญชีครัวเรือน นี่คือเสียงจากชุมชน ที่สามารถพึ่งตนเองได้โดยการรวมกลุ่มกัน ตลอดทั้งชุมชนได้มีการจัดตั้งองค์กรที่จะช่วยเหลือคนในชุมชนยามเดือดร้อน ดังนี้ เช่น กองทุนหมู่บ้าน มีการออมเงินจำนวน 120 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 198 คน และมีเงินออมเป็นเงิน 150,000 บาท และเงินทุนดำเนินการ 1,115,000 บาท โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) มีการออมเงินจำนวน 62 ครัวเรือน ณ .ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจำนวน 62 คน มีเงินออมและเงินทุนหมุนเวียนฯรวมเป็นเงิน 285,292 .68 บาท กลุ่มออมทรัพย์เข่งมีการออมเงินจำนวน 88 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 88 คน มีเงินออมและเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 295,261 บาท กลุ่มแม่บ้านมีการออมเงินจำนวน 100 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 100 คน มีเงินออมและเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 50,000 บาท กลุ่มเลี้ยงวัวพันธุ์พื้นเมืองมีการออมเงินจำนวน 50 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจำนวน 50 คน มีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 96,451 บาท กลุ่มจักสานผักตบชวามีการออมเงินจำนวน 25 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจำนวน 25 คน มีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯเป็นเงิน 25,000 บาท กลุ่มปลูกหญ้าแพงโกล่ามีการออมเงินจำนวน 25 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจำนวน25 คน มีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 25,000 บาท กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีการออมเงินจำนวน 30 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 30 คน มีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 35,000 บาท
ความรู้ ชุมชนจะส่งผู้นำชุมชนเข้าร่วมศึกษาที่มีประโยชน์สำหรับการประกอบอาชีพและเรื่องใหม่ ๆจากหน่วยงานราชการมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เช่น การทำจุลินทรีย์จากหน่อกล้วย และ ผู้นำในหมู่บ้านรณรงค์ให้ครัวเรือนมีการผลิตและการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ เนื่องจากบ้านบัว เป็นหมู่บ้านที่มีการเลี้ยงสัตว์ (โค) มาก เพื่อลดต้นทุนการผลิต และช่วยในการรักษาคุณภาพดิน ซึ่งทำให้มีการลดรายจ่ายจากการซื้อปุ๋ยเคมีในปีละ 5,000 บาท

2.ชุมชนเริ่มยึดแนวทางของเศรษฐกิจพอเพียงมาตั้งแต่เมื่อใด และอะไร คือแรงจูงใจที่ทำให้ชุมชนยึดแนวทางดังกล่าว 
ชุมชนดำเนินชีวิตแบบพอเพียงมาตั่งแต่บรรพบุรุษแล้ว และคนในชุมชนก็อยู่อย่างเอื้ออาทรต่อกันมาตลอด และเมื่อปี พ.ศ. 2540 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเน้นย้ำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ เมื่อเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจในประเทศ และมีหลายหมู่บ้านที่คนในชุมชนไปทำงานในเมืองอุตสาหกรรม ถูกเลิกจ้างและเดินทางกลับมาบ้านนั้น สิ่งเหล่านี้ไม่เกิดกับคนในชุมชน แต่ชุมชนก็ไม่ประมาท ยังดำเนินชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และยังสอนให้ลูกหลานได้ดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงตลอดมา ซึ่งนายบาล บุญก้ำ เล่าว่า เมื่อ 10 ปี ที่ผ่านคนในชุมชนได้นำภูมิปัญญาเรื่องการจักสานมาจักสานโดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ภายในชุมชน คือไม่ไผ่มาจักสานเป็นเข่ง ที่นำรายได้เข้าสู่ชุมชนจนถึงปัจจุบันนี้
3. ความเป็นอยู่เดิมของชุมชนเป็นอย่างไร หลังจากการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ และเกิดความเปลี่ยนแปลงในชุมชนของท่านอย่างไร
ความเป็นอยู่ ของคนในชุมชน พบว่ามีภูมิลำเนามาจากที่เดียวกัน จึงมีลักษณะเป็นอยู่ ที่ไม่แตกต่างกัน อยู่กันแบบเครือญาติ พึ่งพาอาศัยกันในชุมชน ทุกคนจึงรู้จักกันหมดทุกครัวเรือน การประกอบอาชีพส่วนใหญ่ทำการเกษตร รับจ้าง และมีการรวมกลุ่มของคนในชุมชนในการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่นการสานเข่ง สานสุ่มไก่ การจักสานผักตบชวา , การเลี้ยงสัตว์ และการปลูกหญ้า เป็นต้น ชาวบ้านบัว ทุกคน ก็มีการดำเนินชีวิตตามวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อไม่ต่างจากคนล้านนาทั่วไป ที่ชอบความสนุกสนาน แม้แต่ในงานศพก็มีการดื่มเหล้า แต่ปัจจุบันคนในชุมชนได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ จึงมีการงดเหล้าในงานศพ ทุกวันพระมีการจูงลูก – หลานเข้าวัด และในช่วงเทศกาลสงกรานต์ห้ามมีการดื่มสุรา
4. ชุมชนมีการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนหรือไม่ ทำมาเป็นระยะเวลากี่ปี และแผนหนึ่งมีระยะเวลานานเท่าใด เป็นการดำเนินงานร่วมกันของใครบ้าง
- ชุมชนมีการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนที่เรียกว่าแผนชุมชน มาตั้งแต่ปี 2546 รวมเป็นระยะเวลา 7 ปีผ่านมา โดยเป็นแผนระยะเวลา 3 – 5 ปี โดยการประสานความร่วมมือจากหน่วยงานภาคีการพัฒนา ประกอบด้วย สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงาน กศน. ที่ทำการปกครองอำเภอ โดยเริ่มจากการจัดเวทีประชาคมวิเคราะห์หาจุดแข็ง – จุดอ่อนของชุมชน และให้คนในชุมชนช่วยกันวิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ไข พร้อมกับจัดทำเป็นแผนชุมชน
5. ชุมชนของท่านมีการจัดตั้งกองทุนหรือไม่ เป็นกองทุนอะไรบ้าง และเกิดจากความร่วมมือของคนในชุมชนหรือไม่
ชุมชนมีการรวมตัวของคนในชุมชนที่มีจุดประสงค์เดียวกัน ที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันในยามเดือดร้อน เช่น กองทุนหมู่บ้าน มีการออมเงินจำนวน 120 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 198 คน และมีเงินออมเป็นเงิน 150,000 บาท และเงินทุนดำเนินการ 1,115,000 บาท โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) มีการออมเงินจำนวน 62 ครัวเรือน ณ .ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจำนวน 62 คน มีเงินออมและเงินทุนหมุนเวียนฯรวมเป็นเงิน 285,292 .68 บาท กลุ่มออมทรัพย์เข่งมีการออมเงินจำนวน 88 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 88 คน มีเงินออมและเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 295,261 บาท กลุ่มแม่บ้านมีการออมเงินจำนวน 100 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 100 คน มีเงินออมและเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 50,000 บาท กลุ่มเลี้ยงวัวพันธุ์พื้นเมืองมีการออมเงินจำนวน 50 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจำนวน 50 คน มีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 96,451 บาท กลุ่มจักสานผักตบชวามีการออมเงินจำนวน 25 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจำนวน 25 คน มีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯเป็นเงิน 25,000 บาท กลุ่มปลูกหญ้าแพงโกล่ามีการออมเงินจำนวน 25 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มจำนวน25 คน มีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 25,000 บาท กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีการออมเงินจำนวน 30 ครัวเรือน ณ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่ม จำนวน 30 คน มีเงินออมและมีเงินทุนหมุนเวียนฯ เป็นเงิน 35,000 บาท
6. ชุมชนของท่านพึ่งตนเองได้หรือไม่ พึ่งตนเองได้ในด้านใด และอย่างไรบ้าง
บ้านบัวเป็นชุมชนหนึ่งที่สามารถพึ่งตนเองได้ ขอยกตัวอย่างดังนี้ ทุกครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัว ผักปลอดสารพิษ การเลี้ยงไก่พื้นเมือง เลี้ยงปลา ไว้กินแต่ละครัวเรือน เหลือจากการบริโภค ก็แบ่งปันให้เพื่อนบ้านและจำหน่ายบ้าง ทำให้ประชาชนในชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ และมีการเลี้ยงวัว โคขุน ก็มีกลุ่มการเลี้ยงวัวพันธุ์พื้นเมือง การเลี้ยงโคขุน ซึ่งมีการเลี้ยงเป็นจำนวนมาก จึงทำให้มีมูลวัวมาก จึงได้ นำมูลวัวมาทำแก๊สหุงต้มชีวภาพ เพื่อลดรายจ่ายของครัวเรือนได้เดือนละไม่น้อยกว่า 300 บาท อีกทางหนึ่งของครัวเรือน ซึ่งใน ปี 2553 ทุกครัวเรือนจะใช้แก็สหุงต้มชีวภาพ และ ทุกครัวเรือน มีการทำจุลินทรีย์จากหน่อกล้วย ไว้เป็นปุ๋ยสำหรับใช้ในการเกษตร กันทุกครัวเรือน และยังมีการสร้างรายได้ให้กับชุมชนด้วยการรวมกลุ่มกัน เช่น การจักสานเข่ง สุ่มไก่ ซึ่งมีวัตถุดิบอยู่ในชุมชน คือมีไม้ไผ่รวก ตลอดทั้งภูมิสังคมมีภูมิปัญญาในท้องถิ่นในการจักสาน มีการรวมกลุ่มเล็กๆ ทำกันเองเพื่อใช้และจำหน่ายในหมู่บ้านตำบลเดียวกัน และต่อมาได้มีการรวมตัวเป็นกลุ่มใหญ่ที่มีสมาชิกเป็นจำนวนมาก และมีการระดมเงินออม และขยายไปในชุมชนอื่นๆ โดยมีเครือข่ายหมู่บ้าน/ตำบลที่ใกล้เคียง จากการรวมกลุ่มกัน และยังเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงและทำรายได้ให้กับครัวเรือนเป็นอย่างดี และยังเป็นสินค้า OTOP ของจังหวัดพะเยา และการเลี้ยงโคของคนในชุมชน ก็ปลูกหญ้าแพงโกล่า สำหรับใช้เป็นอาหารของโค และจำหน่าย ทำให้มีรายได้เข้าในชุมชนอีกชนิดหนึ่ง และมีการจักสานผักตบชวา เป็นอาชีพเสริม ซึ่งนำวัตถุดิบจากกว๊านพะเยา มาจักสานเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและสวยงาม ตลอดทั้งเป็นการกำจัดผักตบชวา
 7. สัดส่วนของครัวเรือนในชุมชนที่นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต (ให้จากจำนวนครัวเรือนที่นำเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ต่อจำนวนครัวเรือนทั้งหมด)
- ทุกครัวเรือนในชุมชนได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต คิดเป็นร้อยละได้ร้อยละ 100 ของครัวเรือนทั้งหมด



ที่มา หมู่บ้านเศรฐกิจพอเพียงต้นแบบ
ที่มา bandokbua.com

การพัฒนาชีวิตโดยเศรษฐกิจพอเพียง

                                     การพัฒนาชีวิตโดยเศรษฐกิจพอเพียง

คุณธรรมที่ทุกคนควรจะศึกษาและน้อมนำมาปฏิบัติ มี 4 ประการคือ
ประการแรก   คือ  การรักษาความสัตย์ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็น  ประโยชน์และเป็นธรรม

ประการที่ 4   คือ  การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
       คุณธรรม  4  ประการนี้     ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำรุงให้เจริญงอกงามขึ้นโดยทั่วกันแล้ว   จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุข ความร่มเย็น และมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคง ก้าวหน้าต่อไปได้ดังประสงค์
วิธีการพัฒนาชีวิตโดยเศรษฐกิจพอเพียง
                คนแต่ละคนมีชีวิตแตกต่างกันไปตามแบบแผนของสังคมที่สลับซับซ้อน เปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา แต่ทุกคนก็ยังมีความต้องการที่ประสบความสำเร็จในชีวิตโดยเฉพาะคนไทยที่อยู่ในประเทศไทยนั้น ยังมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ  ที่ทรงชี้แนะและมอบแนวทางในการดำรงชีวิตในทางสายกลางที่สมดุล  คือ   มีความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันภายใต้เงื่อนไขของความรู้และคุณธรรม  ที่เรียกว่า  เศรษฐกิจพอเพียง  ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องทั้งเศรษฐกิจ  สังคม  การเมืองการปกครอง  และอื่น ๆ   โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นความจำเป็นพื้นฐานที่แต่ละคนมีระดับความต้องการไม่เท่ากัน เพราะแต่ละคนย่อมมีโอกาสของการพัฒนาการที่แตกต่างออกไป เช่น  ความรู้  ความสามารถ  ประสบการณ์  การสร้างรายได้ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากร   เป็นต้น   ในขณะเดียวกันด้านสังคมเริ่มต้นจากการดำรงชีวิตจะมองถึงความสามารถในการพึ่งตนเอง   ความร่วมมือของคนในครอบครัวและคนรอบข้าง  สมาชิกในสังคมยอมรับ  มีความมั่นคงในการดำรงชีวิต  เป็นต้น    ดังนั้น การพัฒนาชีวิตควรดำเนินการ ดังนี้
1.     ค้นหาความต้องการของตนเองให้พบว่า  มีความต้องการอะไร  มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิตอย่างไร    เช่น   ต้องการมีชีวิตที่มีอนาคตก้าวหน้า มีความเป็นอิสระ มีเวลาเพื่อครอบครัวและสังคมมีทรัพย์สินเพียงพอ 

2.     วิเคราะห์ข้อมูลของตนเองและครอบครัว ซึ่งจะทำให้รู้สถานภาพ รู้สาเหตุของปัญหา รู้ปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รู้ผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม  

 2.2    ศักยภาพของครอบครัว เช่น วิถีการดำรงชีวิต  ภาวะเศรษฐกิจของครอบครัว  ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม  วัฒนธรรม  ประเพณี คุณภาพชีวิตของคนในครอบครัวฐานะทางสังคม  ฐานะทางการเงิน  ที่เป็นทรัพย์สินและหนี้สินของครัวเรือน  รายได้  รายจ่าย  ของครัวเรือน
3.   วางแผนการดำเนินชีวิต
      3.1 พัฒนาตนเอง ให้มีการเรียนรู้ต่อเนื่อง (ใฝ่เรียนรู้) สร้างวินัยกับตนเอง โดยเฉพาะวินัยทางการเงิน
      3.2   สร้างนิสัยที่มีความคิดก้าวหน้ามุ่งมั่นในเป้าหมายชีวิต  หมั่นพิจารณาความคิด  ตัดสินใจแก้ปัญหา เป็นระบบโดยใช้ความรู้ (ที่รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง)   มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และครอบครัว
      3.3   หมั่นบริหารจิตใจให้มีความซื่อสัตย์ สุจริต รักชาติ เสียสละ สามัคคี เที่ยงธรรม ศีลธรรม
      3.4   ควบคุมจิตใจให้ตนเอง ประพฤติในสิ่งที่ดีงาม สร้างสรรค์ ความเจริญรุ่งเรือง
      3.5   พัฒนาจิตใจ ให้ลด ละ เลิก อบายมุข กิเลส ตัณหา ความโกรธ ความหลง
     3.6  เสริมสร้างและฟื้นฟูความรู้และคุณธรรมของตนเองและครอบครัว เช่น เข้ารับการฝึกอบรม ฝึกทักษะ ในวิชาการต่าง ๆ หรือวิชาชีพ หมั่นตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องอย่างสม่ำเสมอ

      3.7 ปรับทัศนคติในเชิงบวก และมีความเป็นไปได้ 
4.   จดบันทึกและทำบัญชีรับ  จ่าย
5.   สรุปผลการพัฒนาตนเองและครอบครัว โดยพิจารณาจาก
      5.1   ร่างกายมีสุขภาพ สมบูรณ์ แข็งแรง
      5.2   อารมณ์ต้องไม่เครียด มีเหตุมีผล มีความเชื่อมั่น มีระบบคิดเป็นระบบเป็นขั้นเป็นตอน มีแรงจูงใจ กล้าคิดกล้าทำ ไม่ท้อถอย หรือหมดกำลังใจ เมื่อประสบปัญหาในชีวิต
      5.3 สิ่งเหล่านี้ได้ลด ละ เลิก ได้แก่ รถป้ายแดง เงินพลาสติก โทรศัพท์มือถือ สถานเริงรมย์ เหล้า บุหรี่ การพนัน 



ที่มา สำนักงานเศรฐกิจการเกษตร

“เศรษฐกิจพอเพียง”..วิถียั่งยืนยุคการตลาด




ขณะที่หลายกิจการ ยังจมอยู่กับการตลาดแบบเก่า  ฟาดฟันกันด้วย “ท่าไม้ตาย” เดิมๆ ยังมีคนอีกจำนวนหนึ่งเลือกที่จะเดินหน้ากิจการ ด้วยเชิงชั้นใหม่ๆ เป้าหมายของพวกเขา คือ “วิถีแห่งความยั่งยืน” การอยู่รอดอย่างสง่างามท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจที่เกินจะคาดเดา
หนึ่งในเชิงชั้นที่เรากำลังพูดถึง คือแนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่ดูเหมือนจะห่างไกลคำว่า “ธุรกิจ” ซึ่งต้องแสวงหากำไรสูงสุด แต่กับคนที่ร่วมขับเคลื่อนแนวคิดนี้มาตั้งแต่ต้น อย่าง “ผศ.ดร.สุขสรรค์ กันตะบุตร” ผู้อำนวยการโครงการพัฒนามาตรฐานธุรกิจเศรษฐกิจพอเพียง สำนักคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กลับเชื่อว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” คือ คำตอบที่ทำให้ธุรกิจเกิดความสามารถในการแข่งขัน สร้างประโยชน์สุขให้กับสังคมได้
สิ่งที่หลอมรวมเป็น “เศรษฐกิจพอเพียง” ตามคำบัญญัติของพวกเขา คือ การมี ภูมิคุ้มกัน ความเพียร ความพอประมาณ ความโอบอ้อมอารี จริยธรรม การพัฒนาภูมิสังคม และการคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย คำตอบของธุรกิจยั่งยืน
วินาทีนี้ “กำไรสูงสุด” อาจไม่สำคัญเท่า “ความยั่งยืน” ขององค์กรธุรกิจ
เขายกตัวอย่าง Nordstrom  ธุรกิจที่มีอายุกว่า 100 ปี ผู้ที่ไม่ได้มุ่งหวังกำไรสูงสุดเพื่อผู้ถือหุ้นเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังลงทุนเพื่อพัฒนา ลูกค้า พนักงาน สังคม และสิ่งแวดล้อม
แคลเซียมชั้นดีที่ Nordstrom ใช้ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กร นั่นคือการพัฒนาบุคลากรและรักษาคน หลีกเลี่ยงการปลดพนักงานแม้จะเกิดวิกฤติ ที่มาของการเติบโตยั่งยืนจนถึงทุกวันนี้
ไม่ต่างกับ  “GC Rieber& Co.” ธุรกิจน้ำมันจากสัตว์ทะเล หนังสัตว์ และเกลือ ที่มีอายุกว่า 130 ปี แม้จะอยู่มานาน แต่ “จิตวิญญาณ” และ “ค่านิยมร่วม” ของพวกเขายังคงเดิม คือการให้ความสำคัญกับพนักงาน ค่านิยมยังถูกส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืน
“องค์กรพอเพียง จะมีความสามารถปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงได้ดี เราพบว่าองค์กรที่ปลดพนักงานในช่วงวิกฤติจะฟื้นยาก แต่พวกที่ไม่ปลดพนักงานจะใช้เวลาไม่นานก็ฟื้นตัว เพราะคนเขามีความพร้อม”
ยังมีหลายกรณีศึกษาในไทยที่ยึดวิถีแห่งความพอเพียง หนึ่งในนั้นคือ  บมจ.บางจากปิโตรเลียม  ธุรกิจพลังงาน ที่ตอบโจทย์ทั้ง “ธุรกิจ” และ “สังคม” พวกเขานำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจ และยังคงเชื่อว่าเป็นหลักสำคัญที่ทำให้บางจากก้าวสู่ความยั่งยืนแม้จะต้องเผชิญวิกฤติเศรษฐกิจ
“ช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ เราได้ปรับกระบวนการบริหารจัดการใหม่ โดยมีสติมากขึ้น ใช้ปัญญาพัฒนานวัตกรรม ทำธุรกิจตอบโจทย์ ทั้งเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ทำให้เราแข็งแรงขึ้น เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง” วัฒนา โอภานนท์อมตะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บางจากปิโตรเลียม เล่า
ใครแวะเติมน้ำมันที่ปั้มบางจาก คงจะคุ้นเคยกันดีกับเหล่าของแถม “ผลิตภัณฑ์ชุมชน”  นี่เป็นเพียงหนึ่งในผลิตผลทางความคิด ยุคการตลาด 3.0 การตลาดอนาคตที่แบ่งใจมาคิดเผื่อแผ่สังคมและโลกมากขึ้น การทำธุรกิจของบางจากจะมุ่งสร้างสมดุลให้กับ “มูลค่า” และ “คุณค่า”  ฉวีวรรณ เกียรติโชคชัยกุล ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กรและชุมชนสัมพันธ์ กล่าวเสริม
“ทุกคนแจกน้ำ แจกทิสชู่ แต่เรานำสินค้าชุมชนมาแจก อย่างลูกหยีกวน เราพบว่าภาคใต้เขามีอาชีพหลักคือทำสวนยางพารา แต่เขาไม่สามารถกรีดยางได้เพราะปัญหาความไม่สงบ อาชีพเสริมเขาคือทำลูกหยีกวน เราก็ไปรับซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้มา ทำให้พวกเขามีรายได้ มีความสุข เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราโตไปพร้อมกับเขา”
วิธีคิดที่ไกลไปกว่านั้น คือการแก้ปัญหาชุมชนไปพร้อมกัน
โมเดลธุรกิจที่เดินหน้าด้วย “ความจริงใจ” นี้เอง ที่ทำให้บางจากสามารถสร้าง “แฟนคลับบางจาก” ขึ้นมาได้โดยไม่ต้องอาศัยการโฆษณา เพียงแต่ใช้คำพูดปากต่อปาก
“มีหลายปั้มที่อยากทำแบบเรา แต่การที่เราเข้าถึงชุมชนก่อน คุ้นเคยกันมานาน สร้างความผูกพันให้เกิดขึ้น เขาก็ไม่อยากเปลี่ยนใจไปจากเรา นี่แหล่ะคือ “คุณค่า” ที่แท้จริง ที่ทำให้เราเติบโตขึ้นมาได้”
ความซื่อสัตย์และจริงใจต่อลูกค้า เป็นหัวใจของการทำธุรกิจแบบบางจาก เช่นเดียวกับความพยายามไม่ปรับขึ้นราคาน้ำมันในช่วงวันหยุดยาวเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภค ขณะที่ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงลิ่ว แม้จะทำให้ต้องแบกรับตัวเลขขาดทุนนับ 10 ล้านบาท แต่ “ดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.บางจาก ก็มีวิธีคิดที่น่าสนใจกว่าแค่ทำกำไรระยะสั้นๆ
“ถึงมีกำไร เราก็ต้องจ่ายภาษี ก็แค่ใช้โอกาสนี้คืนกำไรให้กับประชาชน”
ขณะที่แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในแบบ “ดร.สมศักดิ์ ชลาชล” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชลาชล จำกัด ช่างทำผม 3 ทศวรรษ คือคำว่า “ประมาณตน”  key success ของ  “ชลาชล” ในวันนี้...
“ผมเปิดสาขาแรกมีลูกน้องแค่ 4 คน เมื่อมีเงินก็เอาไปลงทุนสาขาถัดไป ผมไม่เคยกู้เงินใครมาทำ ไม่แข่งขันกับใครเพราะรู้จัก “ประมาณตน” ถนัดเรื่องอะไร ชอบทำอะไร ก็แค่ทำในสิ่งที่ชอบ สั่งสมความเชี่ยวชาญให้เกิดขึ้น ธุรกิจช่างทำผม ขายอารมณ์ ผมตีแตกตรงนี้ถึงอยู่อย่างยั่งยืนได้”
สินทรัพย์ของชลาชล คือ “ทุนมนุษย์” นั่นคือเหตุผลที่สมศักดิ์ให้ความสำคัญอย่างมากกับคนของเขา
“ลูกน้องต้องไม่เจ็บ ไม่จน ต้องอยู่ดีกินดี เพราะเขาเหมือนต้นไม้ ที่ออกดอกผลให้เจ้าของตลอดเวลา เราจึงต้องดูแลเขาอย่างดี มีสวัสดิการให้เต็มที่ ที่ผมทำมาตลอดคือ “ฉันได้ เธอได้” มีเงินเข้ามาก็แบ่งให้พนักงานของเราด้วย”
ใครอยากดำเนินธุรกิจตามวิถีพอเพียง ช่างผมกรรไกรทองบอกแค่ว่า ให้ลองนำหลักพุทธศาสนามาปรับใช้ ง่ายๆ แค่ “ลด ละ เลิก” โดยเริ่มจากตัวเองเป็นอันดับแรก
“พอธุรกิจเราใหญ่โต ก็เหมือน “ซุป’ตาร์” มีคนมาชวนทำโน่นทำนี่เยอะแยะไปหมด ตัวเองก็หลงคิดไปว่าดี แต่ความชำนาญส่วนตัวไม่มีเลย ทำไปก็ล้มเหลว ฉะนั้นความพอเพียงจึงต้องเริ่มจากตัวเองก่อน เพราะเรารู้ดีที่สุดว่าเท่าไรถึงจะพอสำหรับเรา ถ้ายังไม่พอก็ลอง “ลด ละ เลิก” ดู ธุรกิจก็จะพอเพียงได้”
และนี่คือตัวอย่างความสำเร็จของธุรกิจ กับ วิธีคิด สู่วิถี “ยั่งยืน” ยุคการตลาด 3.0
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
ที่มา bangkokbiznews.com

หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

             หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

          การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้
  1. กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา
  2. คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
  3. คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กันดังนี้
    1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลติ และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
    2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
    3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล
  4. เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
    1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
    2. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
  5. แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี

    เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ

          เศรษฐกิจพอเพียง และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ เป็นแนวทางในการพัฒนาที่นำไปสู่ความสามารถในการพึ่งตนเอง ในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน โดยลดความเสียงเกี่ยวกับความผันแปรของธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยอาศัยความพอประมาณ และความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียร และความอดทน สติ และปัญญา การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสามัคคี

          เศรษฐกิจพอเพียงความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่ โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการ และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรม เฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐาน กับ แบบก้าวหน้า ได้ดังนี้ความพอเพียงในระดับบุคคล และครอบครัว โดยเฉพาะเกษตรกรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่

          ขั้นที่ 1 ที่มุ่งแก้ปัญหาของเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลแหล่งน้ำ ต้องพึ่งน้ำฝน และประสบความเสี่ยงจากการที่น้ำไม่พอเพียง แม้กระทั่งสำหรับการปลูกข้าวเพื่อบริโภค และมีข้อสมมติว่า มีที่ดินพอเพียงในการขุดบ่อเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าว จากการแก้ปัญหาความเสี่ยงเรื่องน้ำ จะทำให้เกษตรกรสามารถมีข้าวเพื่อการบริโภคยังชีพในระดับหนึ่ง และใช้ที่ดินส่วนอื่น ๆ สนองความต้องการพื้นฐานของครอบครัว รวมทั้งขายในส่วนที่เหลือเพื่อมีรายได้ที่จะใช้เป็นค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่สามารถผลิตเองได้ ทั้งหมดนี้เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวให้เกิดขึ้นในระดับครอบครัว อย่างไรก็ตาม แม้กระทั่ง ในทฤษฎีใหม่ขั้นที่ 1 ก็จำเป็นที่เกษตรกรจะต้องได้รับความช่วยเหลือจากชุมชนราชการ มูลนิธิ และภาคเอกชน ตามความเหมาะสมความพอเพียงในระดับชุมชน และระดับองค์กรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่

          ขั้นที่ 2 เป็นเรื่องของการสนับสนุนให้เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ หรือการที่ธุรกิจต่าง ๆ รวมตัวกันในลักษณะเครือข่ายวิสาหกิจ กล่าวคือ เมื่อสมาชิกในแต่ละครอบครัว หรือองค์กรต่าง ๆ มีความพอเพียงขั้นพื้นฐานเป็นเบื้องต้นแล้วก็จะรวมกลุ่มกันเพื่อร่วมมือกันสร้างประโยชน์ให้แก่กลุ่ม และส่วนรวมบนพื้นฐานของการไม่เบียดเบียนกัน การแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตามกำลังและความสามารถของตน ซึ่งจะสามารถทำให้ ชุมชนโดยรวม หรือเครือข่ายวิสาหกิจนั้น ๆ เกิดความพอเพียงในวิถีปฏิบัติอย่างแท้จริงความพอเพียงในระดับประเทศ เป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบก้าวหน้า ซึ่งครอบคลุมทฤษฎีใหม่

          ขั้นที่ 3 ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชน หรือเครือข่ายวิสาหกิจ สร้างความร่วมมือกับองค์กรอื่น ๆ ในประเทศ เช่น บริษัทขนาดใหญ่ ธนาคาร สถาบันวิจัย เป็นต้น

          การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในลักษณะเช่นนี้ จะเป็นประโยชน์ในการสืบทอดภูมิปัญญา แลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี และบทเรียนจากการพัฒนา หรือ ร่วมมือกันพัฒนา ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงทำให้ประเทศอันเป็นสังคมใหญ่อันประกอบด้วยชุมชน องค์กร และธุรกิจต่าง ๆ ที่ดำเนินชีวิตอย่างพอเพียงกลายเป็นเครือข่ายชุมชนพอเพียงที่เชื่อมโยงกันด้วยหลักไม่เบียดเบียน แบ่งปัน และช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ในที่สุด

การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้ ดังนี้
  1. การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจำวันของครอบครัว เพื่อให้มีพอเพียงในการบริโภคตลอดปี เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันและเพื่อจำหน่าย
  2. การผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น การเกษตรต้องมีน้ำ การจัดให้มีและดูแหล่งน้ำ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการผลิต และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ
  3. ปัจจัยประกอบอื่น ๆ ที่จะอำนวยให้การผลิตดำเนินไปด้วยดี และเกิดประโยชน์เชื่อมโยง (Linkage) ที่จะไปเสริมให้เกิดความยั่งยืนในการผลิต จะต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายทั้ง เกษตรกร ธุรกิจ ภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับเศรษฐกิจการค้า และให้ดำเนินกิจการควบคู่ไปด้วยกันได้

          การผลิตจะต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล กับ ระบบ การผลิตนั้นต้องยึดมั่นในเรื่องของ คุณค่า ให้มากกว่า มูลค่าดังพระราชดำรัส ซึ่งได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้ที่ว่า

          “…บารมีนั้น คือ ทำความดี เปรียบเทียบกับธนาคาร …ถ้าเราสะสมเงินให้มากเราก็สามารถที่จะใช้ดอกเบี้ย ใช้เงินที่เป็นดอกเบี้ย โดยไม่แตะต้องทุนแต่ถ้าเราใช้มากเกิดไป หรือเราไม่ระวัง เรากิน เข้าไปในทุน ทุนมันก็น้อยลง ๆ จนหมด …ไปเบิกเกินบัญชีเขาก็ต้องเอาเรื่อง ฟ้องเราให้ล้มละลาย เราอย่าไปเบิกเกินบารมีที่บ้านเมือง ที่ประเทศได้สร้างสมเอาไว้ตั้งแต่บรรพบุรุษของเราให้เกินไป เราต้องทำบ้าง หรือเพิ่มพูนให้ประเทศของเราปกติมีอนาคตที่มั่นคง บรรพบุรุษของเราแต่โบราณกาล ได้สร้างบ้านเมืองมาจนถึงเราแล้ว ในสมัยนี้ที่เรากำลังเสียขวัญ กลัว จะได้ไม่ต้องกลัว ถ้าเราไม่รักษาไว้…”

          การจัดสรรทรัพยากรมาใช้เพื่อการผลิตที่คำนึงถึง คุณค่า มากกว่า มูลค่า จะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคล กับ ระบบ เป็นไปอย่างยั่งยืน ไม่ทำลายทั้งทุนสังคมและทุนเศรษฐกิจ นอกจากนี้จะต้องไม่ติดตำรา สร้างความรู้ รัก สามัคคี และความร่วมมือร่วมแรงใจ มองกาลไกลและมีระบบสนับสนุนที่เป็นไปได้

      ประการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง

  1. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป
  2. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล)
  3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด

          "การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง"
เศรษฐกิจพอเพียง จะสำเร็จได้ด้วย ความพอดีของตน

ที่มา คลังปัญญาไทย
ที่มา sufficiencyeconomy.panyathai.or.th/

แนวเกษตรพอเพียง

แนวเกษตรพอเพียงหรือตามทฤษฎีใหม่มีดังนี้




เกษตรทฤษฎีใหม่ (New Theory Agriculture)
การทำการเกษตรในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ สังคมและความเป็นอยู่ของเกษตรกรในชุมชนนั้น การเกษตรทฤษฎีใหม่ (new theory) เป็นการเกษตรอันเนื่องมาจากพระราชดำริของในหลวงที่มีพระประสงค์ให้เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่มั่นคง ในความหมายของความมั่นคง หมายถึง ความยั่งยืน (sustainable) ของเกษตรกรในอาชีพเกษตร คือการที่มีพออยู่ พอกิน ที่เหลือก็เหลือเก็บก็ขาย จำหน่าย ซึ่งมีหลักการจัดการทฤษฎีอยู่ 3 ขั้นตอนดังนี้

ทฤษฎีใหม่ : ขั้นที่หนึ่ง

ฐานการผลิตความพอเพียง เน้นถึงการผลิตที่พึ่งพาตนเอง สร้างความเข็มแข็งของตนเอง ให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ในพื้นที่ของตนเอง กล่าวคือ "พออยู่พอกิน" ไม่อดอยาก ซึ่งในขั้นตอนนี้เป็นเรื่องของการจัดการพื้นที่การเกษตรออกเป็น 4 ส่วน สัดส่วนการใช้พื้นที่ทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ เพื่อให้ตัวเลขง่ายต่อการจดจำในพื้นที่ 15 ไร่ ดังนี้ 30:30:30:10 (พื้นที่ทำนา สระน้ำ พื้นที่ปลูกพืชแบบผสมผสาน และที่อยู่อาศัย)
1) สระน้ำ 3 ไร่ ลึก 4 เมตร (ประมาณ 30% ของพื้นที่)
2) นาข้าว 5 ไร่ (ประมาณ 30% ของพื้นที่)
3) พื้นที่ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก 5 ไร่ (ประมาณ 30% ของพื้นที่)
4) ที่อยู่อาศัย และอื่นๆ 2 ไร่ (ประมาณ 30% ของพื้นที่)

พื้นที่ส่วนที่หนึ่ง คือ ข้าว คือ พื้นที่ทำนาในการปลูกข้าวเพื่อการบริโภค ข้าวเป็นพืชที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจระดับประเทศและระดับครอบครัว ในระดับประเทศถือได้ว่าสามารถนำเงินตราสู่ประเทศอย่างมากมายในแต่ละปี หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า ข้าวเป็นวัฒนธรรม และวิธีชีวิตของคนไทยในแง่ของงานบุญงานประเพณีต่าง ๆ และข้าวเป็นพืชที่ปลูกไว้สำหรับคนไทยทั้งประเทศเพื่อการบริโภค ในระดับครอบครัว ปลูกไว้บริโภคและหากผลผลิตเหลือจึงจำหน่ายเป็นรายได้ ข้าวยังแสดงถึงฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรและทรัพย์สินในแต่ละครอบครัว ข้าวเป็นสินค้าที่เกษตรกรสามารถเก็บไว้ได้นาน ขึ้นอยู่กับความต้องการว่าต้องการบริโภคเมื่อไร ต้องการเปลี่ยนจากผลผลิต (ข้าวเปลือก) เป็นเงินตราไว้สำหรับใช้จ่ายในครัวเรือนเมื่อไรก็ได้ ซึ่งจะต่างจากสิค้าเกษตรอื่นๆ โดยทั่วไป คนไทยบริโภคข้าวเฉลี่ยคนละ 200 กิโลกรัม ข้าวเปลือกต่อ ปี เกษตรกรมีครอบครัวละ 3-4 คน ดังนั้นควรปลูกข้าว 5 ไร่ ผลผลิตประมาณ 30 ถัง ซึ่งเพียงพอต่อการบริโภคตลอดปี

พื้นที่ส่วนที่สอง คือ สระน้ำ สระน้ำในไร่นา มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการเกษตรกรรมเป็นหลัก ดังนั้นหากเกษตรกรมีสระน้ำก็เปรียบเสมือนมีตุ่มเก็บกักน้ำในฤดูฝน ช่วยป้องกันน้ำไหลหลากท่วมไร่นาของเกษตรกร ตลอดจนช่วยมิให้น้ำไหลหลากลงสู่แม่น้ำลำคลอง สามารถนำน้ำจากสระน้ำมาใช้ในฤดูฝนกรณีเกิดขาดแคลนน้ำหรือฝนทิ้งช่วง สำหรับฤดูแล้ง หากมีน้ำในสระเหลือสามารถนำมาใช้ในการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ การที่เกษตรกรมีสระน้ำในไร่นา ยังแสดงถึงการมีหลักประกันความเสี่ยงในการผลิตทางการเกษตร ถ้าเกิดการขาดแคลนน้ำขึ้นในการเพาะปลูก นอกจากนี้ สระน้ำยังเป็นทรัพยากรในการสนับสนุนการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ในไร่นา ให้ความชุ่มชื้น และสร้างระบบนิเวศเกษตรที่เหมาะสมในบริเวณพื้นที่ขอบสระน้ำ การคำนวณว่าต้องมีน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อการเพราะปลูก 1 ไร่ โดยประมาณ และบนสระน้ำอาจสร้างเล้าไก่ เล้าหมูไว้ด้วย เพราะฉะนั้นพื้นที่ 10 ไร่ ต้องใช้น้ำอย่างน้อย 10,000 ลูกบาศก์เมตร

พื้นที่ส่วนที่สาม คือ ปลูกพืชแบบผสมผสาน ไว้เพราะปลูกพืชแบผสมผสานทั้งไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก พืชสมุนไพร และไม้ดอกไม้ประดับ เป็นแหล่งอาหาร ไม้ใช้สอยและเพิ่มรายได้ การปลูกพืชหลาย ๆ ชนิดจะช่วยรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ตลอดจน ช่วยกระจายความเสี่ยงจากความแปรปรวน ของระบบตลาดและภัยทางธรรมชาติ การปลูกพืชผสมผสานยังสามารถช่วยเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตภายนอกไร่นา และตัดวงจรศัตรูพืชบางชนิดได้อีกด้วย

ตัวอย่างของพืชที่ควรปลูก ได้แก่
พืชสวน (ไม้ผล) : เช่น มะม่วง มะพร้าว มะขาม ขนุน ละมุด ส้มมะม่วง กล้วย น้อยหน่า มะละกอ และกระท้อน เป็นต้น
พืชสวน (ผักไม้ยืนต้น) : เช่น แคบ้าน มะรุม สะเดา เหลียง เนียง ชะอม ผักหวาน ขจร ขี้เหล็ก และกระถิน เป็นต้น
พืชสวน (พืชผัก) : เช่น พริก กระเพรา โหระพา ตะไคร้ ขิง ข่า แมงลักสะระแหน่ มันเทศ เผือก ถั่วฝักยาว ถั่วพู และ มะเขือ เป็นต้น
พืชสวน (ไม้ดอก) : เช่น มะลิ ดาวเรือง บานไม่รู้โรย กุหลาบ รักและซ่อนกลิ่น เป็นต้น
เห็ด : เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เห็ดเป๋าฮื้อ เป็นต้น
สมุนไพร และเครื่องเทศ : เช่น หมาก พลู พริกไทย บุก บัวบกมะเกลือ ชุมเห็ด หญ้าแฝก กระเพรา สะระแหน่ แมงลัก และตะไคร้ เป็นต้น
ไม้ยืนต้น (ใช้สอยและเชื้อเพลิง) : เช่น ไผ่ มะพร้าว ตาล มะขามเทศ สะแกทองหลาง จามจุรี กระถิน ยูคาลิปตัส สะเดา ขี้เหล็ก ประดู่ ชิงชัง และยางนา เป็นต้น
พืชไร่ : เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วลิสง อ้อย มันสำปะหลัง ละหุ่ง เป็นต้น พืชไร่บางชนิดอาจ เก็บเกี่ยวเมื่อผลผลิตยังสดอยู่ จำหน่ายได้
พืชบำรุงดิน และพืชคลุมดิน : เช่น ทองหลาง ขี้เหล็ก กระถิน ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วพร้า ถั่วมะแฮะ ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วพุ่ม โสน ถั่วฮามาต้า เป็นพืชที่ควรปลูกแซม ไม้ผลไม้ยืนต้นขณะที่ยังเล็กอยู่ ปลูกหมุนเวียนกับข้าว หรือปลูกตามหัวไร่ปลายนา พืชเหล่านี้บางชนิดใช้กินใบและดอกได้ด้วย

พื้นที่ส่วนที่สี่ คือ ที่อยู่อาศัย เป็นที่อยู่อาศัยหรือบ้านไว้ดูแลเรือกสวนไร่นา และบริเวณบ้าน ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น มีไม้ผลหลังบ้านไว้บริโภคปลูกผักสวนครัว พืชสมุนไพร นำเศษวัสดุเหลือใช้มาทำปุ๋ยหมัก เพาะเห็ดฟาง การเลี้ยงสัตว์เพื่อสร้างคุณค่าอาหารและโภชนาการ ตลอดจนเสริมรายได้ นอกจากนี้มูลสัตว์ยังเป็นปุ๋ยคอก สำหรับพืชในลักษณะเกษตรผสมผสาน มีการหมุนเวียนทรัพยากรในไร่นาให้มีประสิทธิภาพ ดังนี้ การจัดการพื้นที่ส่วนที่สี่ให้มีที่อยู่อาศัยนั้นยังหมายถึง การสร้างจิตสำนึก และนิสัยให้มีความผูกพันธ์กับอาชีพการเกษตรของตนเอง เพื่อให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้โดยไม่มีจิตฟุ้งเฟ้อหลงไหลในวัตถุนิยม ดังเช่นสังคมเมือง สามารถใช้ประโยชน์จากบริเวณบ้านและที่อยู่อาศัย มีเวลามากพอในการทำการเกษตร ดูแลเรือกสวนไร่นาของตนเอง มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตพื้นฐานอย่างเพียงพอ ได้อาหารจากพืช สัตว์ และประมง มียารักษาโรคจากพืชธรรมชาติและพืชสมุนไพร มีผลไม้ไว้บริโภค และมีไม้ใช้สอยในครอบครัว

ทฤษฎีใหม่ : ขั้นที่สอง

รวมพลังเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

เกษตรกรรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยสร้างความพอเพียงในขั้นที่หนึ่ง ทำให้เกิดความเข้มแข็งในแต่ละคนแต่ละครอบครัว จนเกิดกลุ่มกิจกรรมที่เข้มแข็งและเกิดพลัง ในขั้นที่สอง การรวมกลุ่ม จึงร่วมกันช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มิใช่มาขอความช่วยเหลือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว การรวมกลุ่มให้เกิดพลังในการดำรงชีพ และดำเนินกิจกรรมการเกษตร โดยการร่วมแรงร่วมมือในการผลิต จัดระบบการผลิต การตลาด ร่วมคิดร่วมวางแผน และระดมทรัพยากรในการผลิตร่วมกัน สร้างสวัสดิการความเป็นอยู่ ด้านการศึกษาและอนามัย ร่วมกันในชุมชนและกลุ่มเป็นอันดับแรก ทำให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน กลุ่มมีความเข้มแข็งช่วยเหลือตนเองได้ เกิดความสามัคคีปรองดองกัน สามารถร่วมดำเนินธุรกิจด้วยกันโดยการร่วมกันซื้อขาย ซึ่งจะช่วยในการลดค่าขนส่ง ทำให้เกิดการเรียนรู้แหล่งผลิต ซื้อขายปัจจัยการผลิตและผลผลิต นอกจากนี้แล้ว การรวมกลุ่มและแปรรูปแบบสหกรณ์ ทำให้มีผลผลิตในปริมาณที่มากพอสามารถเพิ่มอำนาจในการรวมกลุ่ม และรูปแบบสหกรณ์ทำให้มีผลผลิตในปริมาณที่มากพอ สามารถเพิ่มอำนาจในการต่อรองราคาในการจำหน่ายพืชผลทางการเกษตร

ทฤษฎีใหม่ : ขั้นที่สาม

ร่วมค้าขายสร้างเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชน

ในขั้นตอนที่สอง เมื่อองค์กรหรือกลุ่มหรือสหกรณ์ เกิดความเข้มแข็ง สามารถช่วยเหลือกันเองได้แล้ว จึงร่วมกับคนภายนอกค้าขาย ร่วมประสานประโยชน์ร่วมกัน โดยร่วมมือกับแหล่งเงินทุน (ธนาคาร) และกับแหล่งพลังงาน ในขั้นตอนที่สาม โดยยึดหลักฐานการผลิตเดิม ระบบและรูปแบบการรวมกลุ่มการรวมกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และประสานผลประโยชน์ร่วมกัน การจัดตั้งและบริหารโรงสี ร้านค้าสหกรณ์ ในลักษณะบริษัทร่วมทุน ช่วยกันลงทุนในรูปแบบทรัพยากรการผลิต ทรัพยากรมนุษย์ (ตัวบุคคลช่วยกันทำงาน) เงินทุน และ อุปกรณ์การผลิตการก่อสร้าง เป็นต้น ในการร่วมมือร่วมใจกับบุคคลภายนอก ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้เกิดหน่วยเศรษฐกิจชุมชน และเศรษฐกิจท้องถิ่น จะตั้งอยู่บนพื้นฐานผลประโยชน์ร่วมกัน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบตามความถนัด เช่น หน่วยการผลิต หน่วยขนส่ง หน่วยการจัดการ หน่วยติดต่อหาตลาด หน่วยการจำหน่าย หน่วยการลงทุน เป็นต้น แต่ทุกหน่วยจะต้องทำงานเหมือนบริษัทเดียวกัน ทำงานเป็นทีมประสานงานร่วมกัน ทำให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการบริหารการจัดการ การดำเนินธุรกิจ เกิดขบวนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทำให้ทราบความต้องการทั้งชนิด ปริมาณ คุณภาพ และราคาสินค้า นิสัยการบริโภคและอุปโภคของลูกค้า สิ่งสำคัญจะต้องมีกลไก กฎระเบียบข้อบังคับร่วมกัน การจัดสรรปันส่วนผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นต้องยุติธรรมและมีคุณธรรม

จากแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ซึ่งพระราชทานไว้แก่พสกนิกรชาวไทย เกี่ยวกับทฤษฎีใหม่เพื่อการเกษตร โดยการแบ่งพื้นที่ทำการเกษตรออกเป็น 4 ส่วน คือ สระน้ำ พื้นที่ทำนา พื้นที่ทำไร่ ทำสวนและ พื้นที่ที่อยู่อาศัย ในอัตราส่วน 30:30:30:10 และสามารถนำไปประยุกต์ ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เศรษฐกิจ และสังคมเกษตรกร โดยพิจารณาถึงความหลากหลายของกิจกรรมการเกษตร มีระบบ และสัดส่วนที่เหมาะสมในแต่ละสภาพพื้นที่ ดังนี้

1. กิจกรรมด้านแหล่งน้ำ น้ำมีความสำคัญ ในระบบการผลิตของเกษตรกร เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ ่ยังคงอาศัยน้ำฝน และบางพื้นที่ถึงแม้ว่าเป็นที่ราบและที่ลุ่ม สามารถเก็บกักน้ำได้เพียงไม่กี่เดือน ในฤดูแล้งน้ำจึงมี ความสำคัญยิ่งยวดต่อระบบการผลิตการเกษตร ในทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดเล็ก ดังนั้น สระน้ำเพื่อการเกษตรตามทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงเป็นแนวพระราชดำริที่เหมาะสม ที่สุดในสังคมเกษตรกรไทย อย่างไรก็ตาม สระน้ำในที่นี้ ยังหมายถึงแหล่งน้ำที่ใช้เพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภคในครอบครัวเกษตรกร นอกจากนี้แหล่งน้ำยังสามารถเลี้ยงปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ เพื่อการบริโภคและจำหน่าย ตลอดจนนำน้ำจากแหล่งดังกล่าว มาใช้ในการเพาะปลูกพืชผลในเรือกสวนไร่นาและกิจกรรมการผลิตอื่น ๆ เช่นการเพาะเห็ด การเลี้ยงสัตว์ และพืชผักสวนครัว ไม้ดอกไม้ประดับ เป็นต้นในสภาพพื้นที่ที่มีคูคลองธรรมชาติหรือแหล่งน้ำจากร่องน้ำใน สวนไม้ผลและพืชผัก เกษตรกรสามารถนำน้ำมาใช้ในระบบการผลิตในไร่นาได้ อนึ่ง ในฤดูแล้งน้ำในบริเวณสระน้ำ ร่องสวน และคูคลองธรรมชาต ิอาจจะแห้งหรือมีน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ และใช้บริโภคและอุโภคในครอบครัว เกษตรกร ควรมีการเติมน้ำจากแหล่งน้ำขนาดใหญ่เหมือง ฝายทดน้ำ ห้วย คลอง บึง ตามธรรมชาติ เป็นต้น

2. กิจกรรมด้านอาหาร ซึ่งเป็นกิจกรรมการที่มนุษย์ใช้บริโภคในครอบครัว ตลอดจนเป็นอาหารสัตว์เพื่อให้สัตว์เจริญเติบโต สามารถนำมาเป็นอาหารของมนุษย์ได้ เช่น ข้าว พืชไร่ (ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ทานตะวัน งา ละหุ่ง) พืชผักสวนครัว (แตงกวา ถั่วฝักยาว พริกชี้ฟ้า) พืชสมุนไพร (กระเพรา โหระพา สะระแหน่) ไม้ผล ไม้ยืนต้น บางชนิด (มะพร้าว กล้วย มะละกอ ไผ่ตง) สัตว์น้ำ (กบ ปู ปลา กุ้ง หอย) การเลี้ยงสัตว์ปีก (เป็ด ไก่ นก) และสัตว์ใหญ่ (สุกร โค กระบือ) เป็นต้น

3. กิจกรรมที่ทำรายได้ (ด้านเศรษฐกิจ ) โดยพยายามเน้นด้านการเพิ่มรายได้เป็นหลัก และก่อให้เกิดรายได้ต่อเนื่อง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี รายได้รายวัน ได้แก่ กิจกรรมพืชผัก (ผักบุ้ง ผักกระเฉด ตะไคร้ ขิง ข่า กระเพรา เป็นต้น) กิจกรรมด้านสัตว์ สัตว์ปีกให้ผล ผลิต ไข่ (ไก่ เป็ด นกกระทา) และการเลี้ยงโคนม รายได้รายสัปดาห์ ได้แก่ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักบางชนิด เช่น ชะอม กระถิน และผักกินใบ รายได้รายเดือน หรือตามฤดูการผลิต 2-4 เดือน ได้แก่ การทำนา การทำพืชไร่ การปลูกพืชผัก การเลี้ยงสัตว์ (การเลี้ยงสัตว์ปีก เพื่อผลิตเนื้อ การเลี้ยงสุกร แม่พันธ์ผลิตลูก การเลี้ยงโคนม และสุกรขุนและการเลี้ยงสัตว์น้ำ (ปลา กบ เป็นต้น) รายได้รายปี ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมไม้ผลไม้ยืนต้น พืชไร่ อายุยาว เช่น มันสำปะหลัง สับปะรด อ้อย การเลี้ยงสัตว์ใหญ่ เช่น โคเนื้อ โคขุน สุกร เป็นต้น นอกจากนี้แล้ว ในระยาวสามารถสร้างความสมดุลทางธรรมชาต ิทำให้เกิดระบบนิเวศเกษตรชุมชนที่ดีขึ้น เนื่องจากระบบการผลิตที่ม ีไม้ผลไม้ยืนต้นตลอดจนมีพืชแซมและพืชคลุมดิน จะช่วยสร้างสภาพระบบนิเวศเกษตรด้านบรรยากาศ และป้องกัน การสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งในระบบการ ผลิตดังกล่าวจะมีความหลากหลายของพืชยืนต้นและพืชล้มลุก

4. กิจกรรมพื้นที่บริเวณบ้าน ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ มีทั้งการปลูกพืชผักสวนครัว พืชสมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ผลไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์และการเพาะเห็ดกิจกรรมต่าง ๆ ภายในบริเวณบ้าน จะช่วยประหยัดรายจ่าย และเหลือขายเป็นรายได้ เสริมสร้างการใช้ที่ดินและแรงงานครอบครัวให้เกิดประโยชน์ และมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น



ที่มา Bloggang.com : โจ-หลังสวน
ที่มา bloggang.com